ประเทศไทยเริ่มใช้ชื่อเดือนกุมภาพันธ์ในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาเทววงศ์วโรปการ เป็นผู้เสนอให้ใช้ราศีกำหนดชื่อเดือนเมื่อจูเลียส ซีซาร์รับปฎิทินมาจากอียิปต์และกำหนดให้เดือนมกราคมเป็นเดือนแรกของปีและยกเลิกปฏิทินแบบอียิปต์(เรียกว่าปีระบบดวงจันทร์ คืออาศัยข้างขึ้น ข้างแรมสังเกตความเปลี่ยนแปลงของดวงจันทร์)โดยเริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม ก่อน ค.ศ.๔๕ ปีและได้กำหนดให้ในแต่ละเดือนมีจำนวนวันดังนี้เดือน จำนวนวันมกราคม 31กุมภาพันธ์ 28มีนาคม 31เมษายน 30พฤษภาคม 31มิถุนายน 30กรกฎาคม 31สิงหาคม 31กันยายน 30ตุลาคม 31พฤศจิกายน 30ธันวาคม 31รวม 12 เดือน 365 วันแต่ระยะเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ ๑ รอบ คือ 365.24224 วัน(อ่านรายละเอียดในเรื่อง เล่าเรื่องเดือนแปดสองครั้ง)ถ้าปีใดเดือน กุมภาพันธ์มี 28 วัน ปีนั้นมีจำนวนวัน 365 วัน ก็ขาดไป 0.24224 วันถ้าปีใดเดือน กุมภาพันธ์มี 29 วัน ปีนั้นมีจำนวนวัน 366 วัน ก็เกินไป 0.24224 วันดังนั้น เพื่อง่ายแก่การเพิ่มหรือลดระยะเวลาที่ขาดหรือเกินไป จึงกำหนดให้ปีหนึ่งมี 365 วัน ส่วนที่ขาดไปปีละ 0.24224 วันนั้น(ประมาณ 6 ชั่วโมง ผู้เขียน) ก็ทดไว้จนครบ ๔ ปี ก็จะได้วันอีกหนึ่งวันดังนั้น จึงเพิ่มเข้าในเดือนกุมภาพันธ์ จาก 28 วัน เป็น 29 วัน เรียกว่าอธิกสุรทิน(วันเกิน)วิธีการคำนวณหาเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันอย่างง่ายๆเอาปี ค.ศ.ตั้ง หารด้วย ๔ ลงตัว (ไม่มีเศษปีนั้น กุมภาพันธ์มี 29 วัน)ข้อผิดพลาดบางประการของการเพิ่มวันเข้ามาถ้าเราใช้วิธีเพิ่มเดือนกุมภาพันธ์มี 29 วันทุก ๔ ปีจนครบ 400 ปี จะมีวันเกินไป 3.104 วัน ดังนั้นทุก 400 ปี จะไม่เป็นอธิกสุรทิน 3 วัน ซึ่งมีการกำหนดดังนี้ในปีคริสตศักราช ที่ครบจำนวนเต็มร้อย ที่หารด้วย 400 ไม่ลงตัว เช่น 1700, 1800, 1900ซึ่งปกติแล้วเดือนกุมภาพันธ์จะต้องมี 29 วัน แต่จะไม่เพิ่มขึ้นมาเพราะวันเกินมาอยู่แล้ว ที่ทำเช่นนี้ เพราะต้องการให้เวลาถูกต้องตามธรรมชาติ แต่เมื่อเวลาผ่านไป 10,000 ปี จะผิดไป 3 วันแต่ไม่ต้องวิตก เพราะคุณคงจะไม่มีอายุยืนนานขนาดนั้น นอกเสียจากว่า คุณจะเป็นอมตะ
เครดิต : เวปบอร์ดโลกล้านนา ครับ
No comments:
Post a Comment